การเลือกใช้ท่อ PVC, PPR, และ PE ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

 

ท่อ PVC (Polyvinyl Chloride) , PPR (Polypropylene Random Copolymer) , PE (Polyethylene)

มีความแตกต่างกันทั้งในด้านวัสดุ การใช้งาน ความทนทาน และราคา ตามตารางเปรียบเทียบดังนี้

 

 

 ท่อ PVC

             มีข้อดีคือน้ำหนักเบา หาง่าย ติดตั้งไม่ยาก ราคาไม่แพง อายุการใช้งานไม่เกิน 20ปี เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดสำหรับการเดินงานประปาและไฟฟ้าภายในบ้าน อาคารขนาดกลาง อาคารสูง มีขนาดความยาวมาตรฐาน4เมตร (ยกเว้นท่อสีขาวซึ่งเป็นงานประเภทร้อยสายไฟฟ้าซึ่งยาว2.92เมตร) ท่อ PVC แบ่งลักษณะการใช้งานเป็นสี โดยสีฟ้าใช้ในงานประปา สีเหลืองและสีขาวใช้ในงานร้อยสายไฟฟ้า และสีเทาใช้ในงานเกษตรกรรม ทุกสีสามารถต่อเชื่อมกันได้ในลักษณะการสวมโดยใช้น้ำยาประสานท่อในการยึดไม่ให้หลุดออก เฉพาะสีฟ้าที่มีการแบ่งชั้นระดับความหนา (แรงดัน) โดยท่อประปาสีฟ้าแบ่งออกเป็น ชั้น 5 ชั้น 8.5 ชั้น 13.5 ส่วนอุปกรณ์ข้อต่อแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ บาง(ชั้น8.5) และหนา(ชั้น13.5) ท่อน้ำที่เป็นดื่มหรือใช้ในห้องน้ำควรใช้เป็นชั้น 13.5 เนื่องจากตัววัสดุต้องรับแรงดันตลอดเวลาเพราะเป็นท่อที่ออกจากปั๊มน้ำ ส่วนงานน้ำทิ้งไม่มีแรงดันภายในท่อ สามารถเลือกใช้ชั้น 8.5 หรือ5ตามความเหมาะสม ท่อสีเหลืองและสีขาวนั้นไม่มีความแตกต่างกันอย่างเด่นชัด ใช้ในงานเดินร้อยสายไฟ มีความเป็นฉนวน ไม่นำไฟฟ้า สามารถดัดโค้งได้อย่างถาวร หาซื้อได้ง่าย
 
ท่อ PP-R
             เป็นท่อสำหรับงานประปาโดยเฉพาะ ข้อดีคือไม่รั่วซึมและอายุการใช้งานยาวนานประมาณ 50ปี (ถ้าติดตั้งถูกวิธี) ข้อเสียคือราคาสูงกว่าท่อพลาสติกชนิดอื่น ขนาดความยาวมาตรฐาน 4เมตร ตัววัสดุบิดโค้งได้มากกว่า PVC แต่น้อยกว่า PE ส่วนมากนิยมใช้ในบ้าน อาคารขนาดกลาง อาคารสูง โรงงานอุตสาหกรรม แบ่งออกเป็นประเภทท่อน้ำเย็นและน้ำร้อน ใช้แทนท่อทองแดงในงานเดินน้ำร้อนหรือน้ำอุ่นจากเครื่องทำน้ำร้อนได้ สำหรับที่อยู่อาศัยเช่นบ้าน,อพาทเม้นท์ นิยมใช้ในงานเดินประปาน้ำดี ส่วนท่อน้ำทิ้งขนาดใหญ่ไม่นิยมเนื่องจากราคาและความยากในการติดตั้ง ใช้ความร้อนในการติดตั้ง โดยผู้ทำการเชื่อมต้องมีเครื่องเชื่อมความร้อนเฉพาะสำหรับท่อประเภทนี้
 
ท่อ PE
             ข้อดีของท่อประเภทนี้คือสามารถดัดโค้งงอได้มากกว่า PP-R และ PVC โค้งเป็นวงกลมได้ ในขณะที่ท่อประเภทอื่นดัดโค้งได้จำกัด มีความยาวมาตรฐานที่6เมตร ในท่อขนาดเล็กสามารถเลือกความยาวที่ 50/100/200 เมตร นิยมใช้ในงานสวน งานเกษตร เพื่อลดปัญหาน้ำรั่วซึมตรงจุดเชื่อมต่อ ราคาไม่แพงแต่หาไม่ง่ายเนื่องจากท่อ PE มีความหลากหลายมาก ทั้งมาตรฐานในการผลิต (DIN/JIS/BS standard) ซึ่งแต่ละมาตรฐานอาจจะต่อกันไม่ได้ รูปแบบในการเชื่อมต่อ (ความร้อน/ต่อเกลียว/Grab-lock/หน้าแปลน) ค่าแรงดัน (PN6.3/PN10/PN16 …) ประเภทวัสดุ PE (PE80/PE100) สาเหตุทั้งหมดนี้ทำให้ท่อ PE ที่ถึงแม้จะมีราคาถูกกว่าท่อพลาสติกชนิดอื่น ไม่แพร่หลายในงานที่อยู่อาศัย แต่จะนิยมใช้มากในงานท่อประปาสาธารณะ ส่วนในบ้าน สวนเกษตร